พุง พุง พุง... เมื่อพูดถึงคำนี้เชื่อได้เลยว่าหลายคนคงไม่อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับตัวเองแน่ๆ เพราะนอกจากจะอึดอัด ไม่น่ามองแล้ว ยังเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ ที่อาจตามมาอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ ก่อนอื่นเรามารู้จักพุงของเราให้มากขึ้นกันดีกว่า

belly-fat-1.jpg

รู้กันหรือไม่ว่าคนเรานั้นมี “พุง 3 ชั้น” ซึ่งไม่ใช่อาการที่นั่งแล้วมีพุงมากองกัน 3 ชั้นอย่างที่คิดกันนะ แต่พุงของเรานั้นมี 3 ชั้นจริงๆ ลองมาดูพุงแต่ละชั้นกันดีกว่าว่ามีพุงอะไรกันบ้าง

belly-fat-2.jpg

(ที่มา: http://www.thanyapura.com/stories/how-to-lose-belly-fat-using-these-5-effective-methods)

พุงชั้นที่ 1 หรือไขมันใต้ชั้นผิวหนัง (Subcutaneous Fat)

เป็นชั้นที่เราสามารถจับหรือบีบติดมือเราขึ้นมาได้ ชั้นนี้จะเป็นพลังงานสำรองให้กับร่างกายยามขาดแคลนอาหารซึ่งสามารถลดได้จากการควบคุมอาหารให้เหมาะสม เมื่อเราควบคุมอาหาร ร่างกายก็ต้องนำไขมันส่วนนี้มาใช้ ทำให้น้ำหนักของเราลดลงได้ และยิ่งออกกำลังกายด้วยก็จะยิ่งทำให้พุงส่วนนี้ลดง่ายขึ้นไปอีก

พุงชั้นที่ 2 หรือกล้ามเนื้อหน้าท้อง (Abdominal Muscles)

ชั้นนี้สำหรับคนที่มีน้ำหนักไม่มาก ผอม หรือคนที่ตื่นมาตอนเช้าหน้าท้องก็ดูปกติดี แต่พอได้กินเท่านั้นแหละ ท้องป่องออกมาเหมือนคนใกล้คลอด สาเหตุเกิดจากความไม่แข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ต้องพยุงอวัยวะภายในนั่นเอง ซึ่งหากไม่แข็งแรงก็จะทำให้เวลาที่เรากินอาหารเข้าไป หน้าท้องส่วนนี้ก็จะไม่มีแรงพยุงให้อยู่ทรง ส่งผลให้พุงห้อยออกมา

วิธีแก้ไขให้กล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนนี้กลับมาแข็งแรงดังเดิม แน่นอนว่าคือการออกกำลังกาย หลายๆ คนคงคิดถึงท่าซิตอัพเป็นอันดับแรกๆ แต่เป็นท่าที่เราไม่แนะนำ เพราะท่าซิตอัพจะทำได้แค่ช่วงกล้ามเนื้อท้องส่วนกลางเท่านั้น จึงขอแนะนำท่าแพลงก์ (Plank) ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหลายส่วนหลายมัดทำงานร่วมกันได้ดีกว่า และเห็นผลในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับกล้ามเนื้อหน้าท้องได้ดีกว่า แต่ถ้ายังไม่ถูกใจยังมีวิธีการบริหารกล้ามเนื้อส่วนนี้อีกหลายแบบเลย เช่น ท่าครันช์ (Crunch) ในแบบต่างๆ หรือการวิดพื้น เป็นต้น ใครมีปัญหาแบบนี้อยู่ลองไปทำกันดูนะ

พุงชั้นที่ 3 หรือไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat)

เป็นไขมันอันตรายที่สะสมอยู่ในช่องท้องที่เกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยเกินไป แน่นอนว่าสำหรับนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำจะมีไขมันในส่วนนี้สะสมอยู่น้อย ถึงแม้ว่าคนๆ นั้นจะมีน้ำหนักมากก็ตาม ไขมันส่วนนี้สามารถละลายเข้าสู่กระแสเลือดไปสะสมตามอวัยวะต่างๆ และหากเป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัวยังสามารถที่จะชักนำให้ร่างกายสร้างสารก่อการอักเสบเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทำให้เกิดการอักเสบที่ผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย และเนื่องจากมันอยู่ติดอวัยวะภายใน จึงเหมือนกับอวัยวะภายในของเราถูกแช่อิ่มด้วยไขมันที่คอยขัดขวางทางเดินของเลือดไม่ให้ไปหล่อเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งอันตรายมาก การออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการลดไขมันส่วนนี้ โดยเฉพาะการออกกำลังกายประเภทแอโรบิค เช่น วิ่ง ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น จะช่วยลดไขมันส่วนนี้อย่างได้ผลและรวดเร็ว

วิธีเช็คพุง

รู้จักพุงแต่ละชั้นกันไปแล้ว คราวนี้เราจะรู้ได้ยังไงว่าเรามีไขมันเหล่านี้มากเกินไป และ “อ้วนลงพุง” รึเปล่า เราสามารถเช็คตัวเราเองได้ง่ายๆ ดังนี้

อ้วนลงพุง = [ วัดเส้นรอบพุง (ผ่านสะดือ) ] มากกว่า [ ส่วนสูง หาร 2 ]

ตัวอย่าง: ถ้าสูง 170 ซม. ต้องมีเส้นรอบพุงไม่เกิน 170/2 = 85 ซม.

belly-fat-3.jpg

(ที่มา: https://www.facebook.com/Thai.HealthyLifestyle)

หากลองวัดเส้นรอบพุงตัวเองแล้วพบว่ายังมีค่าที่น้อยกว่าส่วนสูงของตัวเองที่หาร 2 ไปแล้ว ก็ยังพอจะสบายใจได้อยู่ ส่วนใครที่รู้ตัวว่าเข้าข่ายต้องระวังอันตราย ก็ต้องรีบลดพุงกันก่อนจะมีโรคมาถามหา

สาเหตุการเกิดพุง

โดยปกติแล้วหน้าท้องที่ป่องยื่นล้ำเส้นขอบกางเกงหรือกระโปรงออกมานั้น มีหลายประเภท แน่นอนว่าพุงที่เกิดจากไขมันส่วนเกินย่อมเกิดจากการกินอาหารมากเกินไป และสะสมแบบนี้มาเป็นเวลานานนั่นเอง พุงที่ยื่นออกมาในลักษณะนี้จึงมีลักษณะแข็งตัว คนที่เริ่มมีพุงลักษณะนี้ ควรหยุดพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ทันที

  • ชอบกินของทอดหรือขนมจุบจิบ
  • ชอบกินน้ำหวาน
  • ชอบกินบุฟเฟ่ต์/กินมื้อละสองจานขึ้นไป
  • ไม่ชอบกินผัก
  • ไม่ชอบออกกำลังกาย

ในขณะที่บางครั้งพุงที่ยื่นออกมาอาจจะไม่ใช่ไขมันทั้งหมด แต่อาจเกิดจากการที่ภายในช่องท้องของเรามีลมเยอะ หรือมีการขยายตัวเนื่องจากมีลมในช่องท้องหลังกินอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง ซึ่งลมในช่องท้องพวกนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น 

  1. เกิดจากการที่ร่างกายปฏิเสธอาหารกินอาหารไปแล้วไม่ย่อยทำให้เกิดอาการท้องอืด รวมไปถึงกรณีคนที่แพ้อาหารแบบแฝง คือไม่รู้ว่าตัวเองแพ้อาหารชนิดนี้ ไม่แสดงอาการแพ้อย่างรุนแรงให้เห็น (พวกผื่นแดงต่างๆ) แต่เมื่อเรากินอาหารประเภทนี้เข้าไป ร่างกายจะไม่ย่อย หรือเกิดปฏิกิริยาตอบสนองอาหารบางชนิด ทำให้ท้องอืด มีลมในกระเพาะอาหาร
  2. ท้องผูก เพราะดื่มน้ำน้อยเกินไปหรือกินอาหารที่มีเส้นใยอาหารน้อยรวมถึงบางคนมีภาวะการดูดซึมอาหารไม่ดี ทำให้เกิดปัญหาท้องผูกเรื้อรังได้ สังเกตได้ว่า หากใครที่เพิ่งถ่ายหนักออกไปแล้ว พุงที่ยื่นออกมายุบหายไปเกือบทุกครั้ง แสดงว่าพุงของเราเกิดจากอาการท้องผูกนั่นเอง
  3. ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปหรือชอบกินอาหารรสเค็มอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อระบบเลือดและระบบต่างๆ ภายในร่างกาย บางคนกินเค็มมาก ทำให้ส่วนต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ ยกตัวอย่างเช่น อาการบวมน้ำในร่างกาย
  4. เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยอาหารทำได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อทำให้ท้องผูก ท้องอืด มีก๊าซในกระเพาะ
  5. กินอาหารคำใหญ่ทำให้มีลมเข้าไปในช่องท้องมาก
  6. กินอาหารที่มีก๊าซเยอะ เช่น ถั่ว เป็นต้น

หลังจากที่เราได้รู้จักเจ้า “พุง 3 ชั้น” กันแล้ว ถ้าเรายังปล่อยเอาไว้คงไม่ส่งผลดีกับตัวเราแน่ วิธีการรับมือที่ดีที่สุดก็คือ เลือกกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ และกินในปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกายของเรา รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย  หรือหากต้องการตัวช่วยที่จะทำให้สามารถลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ลองให้โปรแกรมบอดี้คีย์ บาย นิวทริไลท์™ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้คุณสามารถปลดล็อคคุณให้เป็นคนใหม่กันดีกว่า เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ถูกค้นคว้าทดลองและออกแบบมาเพื่อคนที่สนใจในการลดน้ำหนักอย่างเราจริงๆ 

shop now