โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ และเยื่อบุจมูกอักเสบ พบได้ทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยมักเกิดจากตัวกระตุ้นที่เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจเกิดจากอะไร

โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ สาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ จึงกระตุ้นให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้นั้น โดยเมื่อได้รับสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ จะกระตุ้นให้มีการสร้างสารภูมิต้านทานชนิด IgE ขึ้น โดย IgE ที่ถูกสร้างขึ้นมานี้จะไปจับกับมาสต์เซลล์ (mast cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาการอักเสบจากภูมิแพ้ เมื่อมีสารก่อภูมิแพ้เข้ามาจับกับ IgE ที่จับอยู่กับมาสต์เซลล์ จะมีการปล่อยสารฮีสตามีน (histamine) ออกมา ฮีสตามีนนี้จะไปกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ในลักษณะต่างๆ1

ลักษณะอาการของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

อาการโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ สามารถสังเกตลักษณะได้ดังนี้

  • มีอาการคัดจมูกและจามติดกันหลายครั้ง น้ำมูกมีลักษณะใส
  • มักมีอาการในตอนเช้า หรือกลางวัน โดยอาจแสดงอาการเป็นนาทีหรือต่อเนื่องเป็นชั่วโมงและหายไปได้เอง
  • มีอาการปวดศีรษะ น้ำมูกไหลลงคอ เสียงเปลี่ยน จมูกไม่สามารถรับกลิ่นได้ มีอาการหูอื้อ เจ็บคอเรื้อรัง คันเพดานปากหรือคอ อาจพบมีการอักเสบของเยื่อบุภายในตาทำให้เกิดอาการคันและเคืองตา ตาบวม และน้ำตาไหล

สมุนไพรต้านไวรัส
เพิ่มภูมิคุ้มกัน

ปัจจัยที่ทำให้โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจกำเริบ

ปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจกำเริบ ได้แก่

  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ปัจจัยทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียด วิตกกังวล
  • สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง หรือ มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายอย่างรวดเร็ว เช่น หลังจากการอาบน้ำ อากาศร้อนจัด หรือเย็นจัด
  • การสัมผัสสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่นละออง ขนสัตว์เลี้ยง เกสรดอกไม้ ควันบุหรี่ ควันธูป เป็นต้น

วิธีรักษาโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

หากสงสัยว่าตนเองอาจเป็น หรือเข้าข่ายว่าเป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา และปรับภูมิคุ้มกัน โดยวิธีรักษาโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจสามารถทำได้ 4 วิธีดังนี้

1. การฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าในผิวหนัง

เป็นการรักษาภูมิแพ้ทางเดินหายใจ โดยการฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้เข้าไปใต้ผิวหนัง โดยเริ่มจากปริมาณน้อยก่อน และค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายผู้ป่วยสร้างภูมิต้านทานมาต่อต้านสิ่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้ โดยควรให้ซ้ำๆ อย่างสม่ำเสมอ จนผู้ป่วยมีอาการแพ้ลดลงเมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้ วิธีนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้มาก การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล มีผลข้างเคียงจากการใช้ยา หรือเป็นผู้ที่มีโรคภูมิแพ้หลายชนิดร่วมด้วย

2. การอมสารก่อภูมิแพ้ใต้ลิ้น

การรักษาวิธีนี้ทำได้โดยการอมสารที่ทำให้เกิดการแพ้ใต้ลิ้น โดยการวางยาใต้ลิ้นวันละ 1 ครั้ง อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้ทำได้สะดวก และใช้งานง่าย ผู้ป่วยสามารถรักษาด้วยตัวเองได้ที่บ้าน และลดอาการเจ็บปวดจากการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง มีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย

3. การใช้ยาทานและยาพ่น

การรักษาด้วยการใช้ยาทาน และยาพ่น เป็นการรักษาที่ให้ผลดี และมีความปลอดภัย เช่น ยาต้านฮีสตามีนสามารถใช้ได้ในโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจทุกชนิด และทุกความรุนแรง แต่เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี อาจพบผลข้างเคียงจากการใช้ยา ส่วนการรักษาด้วยยาพ่นควรใช้รักษาในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจที่เป็นชนิดคงที่ หรืออาการปานกลางถึงรุนแรง ที่มีอาการคัดจมูกมาก การรักษาด้วยยาทานและยาพ่น ควรหยุดใช้ยาเมื่ออาการดีขึ้น

4. การใช้สมุนไพร

ในกรณีที่ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการของโรคภูมิแพ้หลายชนิด หรือผู้ป่วยที่แพ้อาหาร ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการอื่นได้ผลไม่ดีนัก รวมถึงผู้ป่วยที่เกิดผลข้างเคียง รวมทั้งผู้ที่มีความกังวลผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยการใช้ยาแผนปัจจุบัน อาจเลือกใช้สมุนไพรที่มีสารประกอบสำคัญหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ในการต้านกระบวนการอักเสบ และบรรเทาอาการแพ้เพื่อรักษาอาการได้

สมุนไพรต้านไวรัส
เพิ่มภูมิคุ้มกัน

อาหารที่ช่วยดูแลสุขภาพจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

มีอาหารอยู่หลายชนิดที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจได้ เช่น

1. ซินนามอน (Cinnamon)

ชินนามอน หรือ อบเชย ในเปลือกมีไฟโตนิวเทรียนท์หลากหลายชนิดเป็นองค์ประกอบสำคัญ เช่น กรดซินนามิก (Cinnamic Acids) ซินนามาลดีไฮด์ (Cinnamaldehyde) ยูจีนอล (Eugenol) เอทิล ซินนาเมต (Ethyl Cinnamate) ชินนามอนมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ช่วยป้องกันและรักษาอาการแพ้ได้ เพราะช่วยลดการจับกลุ่มกันของเม็ดเลือดขาวเมื่อเกิดอาการแพ้ จึงช่วยลดการหลั่งสารฮีสตามีน ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ดังนั้นจึงช่วยบรรเทาอาการแพ้ได้ดี

2. พิเคา เพรโต (Picao Preto)

พิเคา เพรโต (Picao Preto) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Spanish Needles” มีไฟโตนิวเทรียนท์ที่เป็นองค์ประกอบหลักเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ เช่น เควอซิทิน (Quercetin) ลูทีโอลิน (Luteolin) เป็นต้น

จากการศึกษาฤทธิ์ของเควอซิทิน และลูทีโอลินในหลอดทดลองพบว่า สารทั้งสองสามารถลดการหลั่งฮีสตามีนจากมาสต์เซลล์ได้ และเมื่อทดลองให้เควอซิทินแก่ผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ตลอดปี (Perennial Allergic Rhinitis) ก็มีส่วนช่วยลดการหลั่งฮีสตามีนจากมาสต์เซลล์ได้เช่นกัน ส่วนเควอซิทินมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ไซโคลออกซีจีเนส (Cyclooxygenase) และไลพอกซีจีเนส (Lipoxygenase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เปลี่ยนสารเคมีบางชนิดให้เป็นสารกระตุ้นกระบวนการอักเสบเมื่อเกิดการแพ้ขึ้นบริเวณโพรงจมูก เมื่อเอนไซม์ทั้งสองถูกยับยั้ง จึงช่วยลดอาการอักเสบจากภูมิแพ้ได้

3. อะเซโรลา เชอร์รี (Acerola Cherry)

อะเซโรลา เชอร์รี (Acerola Cherry) เป็นพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เมื่อร่างกายเกิดการอักเสบจากภูมิแพ้ จะเหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้นบริเวณที่เกิดการอักเสบ ซึ่งอนุมูลอิสระนี้จะส่งผลให้อาการอักเสบยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้น การที่ร่างกายได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยยับยั้งการหลั่งฮีสตามีน และยังช่วยในการเร่งกระบวนการสลายฮีสตามีนหมดฤทธิ์เร็วขึ้นเมื่อมีอาการแพ้ได้อีกด้วย

สมุนไพรต้านไวรัส
เพิ่มภูมิคุ้มกัน

โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจจะส่งผลอย่างไร หากไม่รีบรักษา

โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ แม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่ก็เป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิต เช่น การนอน การทำงาน การเข้าสังคม นอกจากนั้นหากไม่ทำการป้องกันโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ หรือรักษา จะส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ร่วมด้วย ได้แก่1

  • โรคหอบหืด
  • การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ
  • การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง
  • เยื่อบุจมูกอักเสบ
  • หูอักเสบชั้นกลาง
  • ริดสีดวงจมูก
  • ภาวะทางเดินหายใจอุดตันขณะหลับ

สมุนไพรต้านไวรัส
เพิ่มภูมิคุ้มกัน

สรุป

โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ สาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ จึงกระตุ้นให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้นั้น จนก่อให้เกิดอาการแพ้ในลักษณะต่างๆ แม้ว่าโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจจะไม่ส่งผลอันตรายถึงชีวิต แต่ก็พบว่าส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากปล่อยทิ้งไว้นานไม่ทำการรักษา อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา เช่น โรคหอบหืด การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน เป็นต้น

การรักษาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาทานและยาพ่น การฉีดสารก่อภูมิแพ้ อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลรักษาตัวเองอย่างเหมาะสม คือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมทั้งการกินอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของสารที่ช่วยบรรเทาและลดอาการอักเสบ ก็จะเป็นการช่วยให้อาการของโรคดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

shop now