โคเอนไซม์คิวเท็นเป็นสารสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองตามธรรมชาติ และจำเป็นต้องมีอยู่จำนวนมากและเพียงพอ โดยเฉพาะในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง เช่น หัวใจ ตับ ตับอ่อน ไตและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น โคเอนไซม์คิวเท็นอาจจะเกี่ยวข้องกับทุกพื้นที่ที่เกี่ยวกับสุขภาพของร่างกาย โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด โดยช่วยลดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวด้วยการจำกัดปริมาณของไขมันที่จะไปสะสมบนผนังหลอดเลือด และลดการสะสมของโคเลสเตอรอลในเลือด นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ที่กล้ามเนื้อหัวใจ

โคเอนไซม์คิวเท็นคืออะไร

โคเอนไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) หรือรู้จักกันในนาม คิวเท็น (Q10) มีลักษณะคล้ายวิตามินอีและวิตามินเค ซึ่งละลายได้ในไขมัน พบในทุกเซลล์ของร่างกาย เป็นสารที่ช่วยเหลือการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายหลายชนิด ซึ่งจำเป็นสำหรับการนำวิตามินและเกลือแร่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ร่างกายสามารถสร้างโคเอนไซม์คิวเท็นส่วนหนึ่งจากกระบวนการสังเคราะห์ไขมันโคเลสเตอรอลที่ตับ อีกส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล เนื้อสัตว์ ถั่วเปลือกแข็ง น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนลา เป็นต้น

โคเอนไซม์คิวเท็นสำคัญอย่างไร

  • ช่วยเพิ่มหรือขับออกซิเจน (Oxygen) ให้แก่เซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ
  • เป็นตัวร่วมในกระบวนการหายใจระดับเซลล์ที่ใช้ออกซิเจน
  • เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานที่เรียกว่า ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานที่สร้างขึ้นโดยโมเลกุลของเซลล์เพื่อให้เซลล์ทำหน้าที่ต่างๆได้

สภาวะของร่างกายมีผลต่อระดับโคเอนไซม์คิวเท็นอย่างไร

โคเอนไซม์คิวเท็นในร่างกายจะลดลงเมื่อมีปัจจัยดังนี้

  • อายุ ระดับของโคเอนไซม์คิวเท็นในเนื้อเยื่อจะสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 20 ปี หลังจากนั้นจะค่อยๆ ลดลง
  • โรคบางชนิด เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวจากเลือดคั่ง อาการปวดเค้นหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย ความดันโลหิตสูง โรคพาร์คินสัน และโรคหืด

ใครบ้างที่ควรได้รับการเสริมด้วยโคเอนไซม์คิวเท็น

  • ผู้ที่ร่างกายอยู่ในภาวะอารมณ์เครียดและสับสน
  • ผู้ที่ทำงานหนักและต้องการรักษาระดับพลังงานในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ
  • ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วย หรือภูมิคุ้มกันลดลง
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่กำลังต้องการพลังงานเพื่อต่อสู้กับโรคหรือเชื้อโรค
  • ผู้สูงอายุและนักกีฬา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจของเซลล์แบบใช้ออกซิเจน ทำให้กล้ามเนื้อของนักกีฬาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอาการล้าของกล้ามเนื้อ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโคเอนไซม์คิวเท็น

1. โคเอนไซม์คิวเท็นกับสุขภาพของหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะหัวใจล้มเหลวและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของมนุษย์ เกิดจากการสะสมของไขมันโดยตรงบนผนังหลอดเลือด หรือภาวะหลอดเลือดแข็งตัวโคเอนไซม์คิวเท็นมีบทบาทสำคัญมากในการลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว โดยจำกัดปริมาณของไขมันที่จะไปสะสมบนผนังหลอดเลือด นักวิจัยบางท่านเชื่อว่า การเสริมวิตามินอี (Vitamin E) ร่วมกับ โคเอนไซม์คิวเท็น ให้ผลในการลดความเสี่ยงและเพิ่มการป้องกันภาวะหลอดเลือดอุดตันได้มากกว่า  การได้รับเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นยังมีรายงานว่า โคเอนไซม์คิวเท็นสามารถช่วยและลดการสะสมของโคเลสเตอรอลในเลือด เพิ่มเอชดีแอล โคเลสเตอรอล (HDL-Cholesterol) ได้ด้วย

ผู้ที่มีอาการปวดเค้นหน้าอก (Angina) การเสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโคเอนไซม์คิวเท็น สามารถลดอาการปวดเค้นหน้าอกลงได้ และยังมีความสามารถออกกำลังกายได้นานขึ้นด้วย

2. โคเอนไซม์คิวเท็นกับการต้านอนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้โดยธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ร่างกายผลิตอนุมูลอิสระขึ้นจากหลายสาเหตุ อาทิ กระบวนการอักเสบภายในร่างกาย การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน สิ่งแวดล้อม ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นในร่างกาย แหล่งของอนุมูลอิสระ ได้แก่ มลภาวะ การออกกำลังกาย แสงแดด การสูบบุหรี่ ยาปราบศัตรูพืช รังสีเอ็กซ์ (x-ray) และอาหารทอด เป็นต้น

ผิวหนังของคนเรามีสารต้านออกซิเดชันอยู่จำนวนมาก ได้แก่ วิตามินอี  โคเอนไซม์คิวเท็น  เป็นต้น แสงแดดมีผลให้ปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระลดลง การมีอายุเพิ่มขึ้นพบว่ามีการสร้างโคเอนไซม์คิวเท็นลดลงเช่นกัน จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผิวหนังเกิดริ้วรอยเมื่อมีอายุมากขึ้น โคเอนไซม์คิวเท็นมีบทบาทสำคัญในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาในร่างกายและจากสภาวะภายนอก จึงป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ที่กล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงปกป้องการทำลายดีเอ็นเอ (DNA) ได้ด้วย

สารอาหารสำคัญที่ดูแลสุขภาพหัวใจให้อ่อนเยาว์

แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine)

ร่างกายของคนเราสังเคราะห์แอล-คาร์นิทีนได้โดยเฉลี่ยมีประมาณ 20-25 กรัมในร่างกาย  ซึ่งในจำนวนนี้ 98% พบในกล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อหัวใจ แสดงให้เห็นว่าแอล-คาร์นิทีน มีความสำคัญมากต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ ร่างกายยังได้รับแอล-คาร์นิทีนจากอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ปลา นม เนย ไข่ ส่วนอาหารประเภทพืชผักมีแอล-คาร์นิทีนอยู่จำนวนน้อย ยกเว้น แอสพารากัส (Asparagus) อะโวคาโด (Avocados) และเนยถั่ว (Peanut Butter) ซึ่งมีแอล-คาร์นิทีนอยู่จำนวนค่อนข้างมากกว่าพืชอื่นๆ

ทอรีน (Taurine)

ทอรีนมีบทบาทสำคัญมากในร่างกาย ทอรีนจะไปจับกับน้ำดีและเป็นส่วนหนึ่งของน้ำดี ซึ่งช่วยในการดูดซึมไขมันและวิตามินที่ละลายในไขมัน นอกจากนี้ ทอรีนยังมีคุณประโยชน์อีกหลายอย่าง เช่น ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ ช่วยทำให้สุขภาพของหลอดเลือดหัวใจดีขึ้น ช่วยในการทำงานของเรตินาให้เป็นปกติ พบว่าในเรตินามีปริมาณของทอรีนเป็นส่วนประกอบค่อนข้างสูง ช่วยควบคุมปริมาณน้ำในเซลล์ ช่วยควบคุมการส่งผ่านแคลเซียมอิออนในผนังเซลล์ เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิง
  1. ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ สหรัฐอเมริกา
  2. Aberg, F., Applekvist, E., Dallner, G., & Ernster, L. (1992). Distribution and redox state of ubiquinones in rat and human tissues. Archives of Biochemistry and Biophysics. 295(2): 230-234. Mohr, D., Bowry, V., & Stocker, R. (1992).
  3. Ames BN, Shigenaga mK, Hagen TM. Oxidants, antioxidants and the degenerative diseases of aging. Proc Natl Acad Sci (USA) 1993; 90:7915-7922.
  4. American Heart Journal, 2002, 143:1092-1100.
  5. Arteriosclerosis, Thrombosis and Vascular Biology, 2001, 21:585-593.
  6. Baggio E, Gandini R, Plancher AC, et al.: Italian multicenter study on the safety and efficacy of coenzyme Q10 as adjunctive therapy in heart failure. CoQ10 Drug Surveillance Investigators. Mol Aspects Med 15 (Suppl): s287-94, 1994.
  7. Beyer, R., & Ernster, L. (1990). The antioxidant role of coenzyme Q. In G. Lenaz, O. Barnabei, A. Rabbi, and M. Battino (eds) Hightlights in ubiquinone Research (pp. 191-213). London: Taylor & Francis.
  8. Bliznakov E, Casey A, Premuzic E: Coenzyme Q: stimulants of the phagocytic activity in rats and immune response in mice. Experientia 26(9): 953-4, 1970.
  9. Bliznakov EG: Effect of stimulation of the host defense system by coenzyme Q10 on dibenzpyrene-induced tumors and infection with Friend leukemia virus in mice. Proc Natl Acad Sci USA 70(2): 390-4,1973.
  10. Folkers K, Osterborg A, Nylander M, et al.: Activities of vitamin Q10 in animal models and a serious deficiency in patients with cancer. Biochem Biophys Res Commun 234 (2): 296-9, 1997.
  11. Folkers K, Hanioka T, Xia LJ, et al.: Coenzyme Q10 increases T4/T8 ratios of lymphocytes in ordinary subjects and relevance to patients having the AIDS related complex. Biochem Biophys Res Commun 176(2): 786-91, 1991.
  12. Kawase I, Niitani H, Saijo N, et al.: Enhancing effect of coenzyme Q10 on immunorestoration with Mycobacterium bovis BCG in tumor-bearing mice. Gann 69(4): 493-7, 1978.
  13. Lockwood K, Moesgaard S, Folkers K: Partial and complete regression of breast cancer in patients in relation to dosage of coenzyme Q10. Biochem Biophys Res Commun 199(3): 1504-8, 1994.
shop now