ไม่กินก็จะไม่อ้วน...ความเชื่อผิดๆ ที่พาชีวิตติดอยู่ในวงจรโยโย่ เอฟเฟกต์

หยุดความเชื่อผิดๆ ที่มีมาโดยตลอดว่าจะลดน้ำหนักได้ไวต้องอดอาหารหรือกินให้น้อยที่สุด แม้ว่าวิธีนี้จะเคยใช้ได้ผลมาแล้ว แต่นั่นคือหนึ่งในสาเหตุของการเกิดโยโย่ เอฟเฟกต์ (Yoyo Effect) เพราะเมื่อเราอดอาหารหรือกินน้อยเกินไป ในเริ่มแรกแม้จะเห็นว่าน้ำหนักเราลดลง แต่ต่อมาร่างกายจะเริ่มปรับตัวเพื่อความอยู่รอดโดยการกำจัดส่วนที่ใช้พลังงานมากของร่างกายออก นั่นคือ กล้ามเนื้อ และทำการสะสมแหล่งพลังงานหรือก็คือไขมันแทน เพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองในยามอด เมื่อเรากลับมากินเป็นปกติ ร่างกายจะเผาผลาญได้ไม่ดีเท่าเก่า ยิ่งไปกว่านั้นพลังงานที่ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญได้หมด จะถูกเก็บในรูปของไขมัน ทำให้น้ำหนักกลับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

fasting-diet-1.jpg

ไม่เพียงแต่เกิดโยโย่ เอฟเฟกต์เท่านั้น การอดอาหารหรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอยังมีผลต่อตับของเราอีกด้วย เพราะตับทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการสร้างพลังงาน หากเรากินน้อยเกินไปหรือกินสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งนานเกินไป เช่น จำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรต  หรือการกินโลว์คาร์บ (Low Carb) ในระยะเวลาที่นานเกินไป ลักษณะเช่นนี้มักจะต้องกินโปรตีนสูงแทน จะส่งผลต่อการสร้างสารพิษขึ้นที่ตับและในกระแสเลือดมากขึ้น สุดท้ายระบบไตจะพัง และกระทบกับการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย

fasting-diet-2.jpg

เปลี่ยนการอดอาหารเป็นการกินแบบไหนดี?

การลดน้ำหนักที่ถูกวิธีจึงเป็นการควบคุมอาหาร ไม่ใช่การอดอาหารหรือกินน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการมากเกินไป  ควรควบคุมพลังงานที่รับเข้าไปในแต่ละวันให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่เราต้องทำในแต่ละวัน และลดจำนวนแคลอรีลง 15-20% ของพลังงานที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน แต่ไม่ควรน้อยกว่าอัตราการเผาผลาญพื้นฐาน หรือ BMR และที่สำคัญคือ ไม่ควรกินน้อยกว่า 1,200 แคลอรีต่อวัน เนื่องจากพบว่าการกินอาหารพลังงานต่ำส่งผลเสียต่อการลดน้ำหนักในระยะยาว และยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโยโย่ เอฟเฟกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกินอาหารพลังงานต่ำมาก (<800 กิโลแคลอรี) สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) (National Institute of Health : NIH) รายงานว่า ไม่สามารถช่วยลดน้ำหนักและคงรักษาน้ำหนักที่ดีได้ในระยะยาว วิธีง่ายๆที่จะช่วยจัดการพลังงานของคุณในแต่ละวันคือ การบันทึกแคลอรีของอาหารที่รับประทานในทุกมื้อ วิธีการนี้นอกจากจะช่วยให้สามารถจัดการพลังงานในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสมแล้ว ยังจะช่วยป้องกันโยโย่ เอฟเฟกต์ไปในตัว

นอกจากนี้หากต้องการลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักได้ดีในระยะยาวแล้ว สิ่งสำคัญคือการจัดสัดส่วนของอาหารทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันให้เหมาะสมในแต่ละวัน แนะนำว่าในช่วงลดน้ำหนัก ควรปรับปริมาณสัดส่วนของโปรตีน:คาร์โบไฮเดรต:ไขมัน คือ 30% : 40% : 30% ของพลังงานที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน และเมื่อเข้าสู่ช่วงรักษาน้ำหนักสามารถปรับเป็น 20% : 50% : 30%  เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่สมดุลมากขึ้น

fasting-diet3.jpg

เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคน “เลือกกิน”

ไม่เพียงแต่สัดส่วนของสารอาหารเท่านั้น แต่ประเภทของสารอาหารที่เลือกรับประทานก็สำคัญเช่นกัน เช่น  ควรเลือกกินคาร์โบไฮเดรตประเภทเชิงซ้อนหรือแปรรูปน้อยๆ จำพวกข้าวและแป้งไม่ขัดสี ธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท เพราะร่างกายย่อยและดูดซึมได้ช้ากว่า ทำให้อิ่มและอยู่ท้องนานกว่า ส่วนไขมันเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการควบคุมน้ำหนัก ควรเลือกกิน “ไขมันไม่อิ่มตัว”ให้มากขึ้น เช่น ปลาแซลมอน อโวคาโด ถั่วต่างๆ น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว เพราะไขมันที่ดีเป็นไขมันที่มีประโยชน์หลายอย่างต่อร่างกาย ได้แก่

  • ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย
  • ช่วยในกระบวนการเผาผลาญ
  • เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ต่างๆ ที่ช่วยสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยด้านพัฒนาการของสมอง
  • ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน
  • ช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี อี และเค
  • เป็นแหล่งของพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ

การลดน้ำหนักที่ถูกต้องและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจะต้องคำนึงถึงสมดุลของพลังงานที่กินเข้าไปและเผาผลาญออกมา หรือก็คือ การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายให้เหมาะสม เพราะการกินอาหารและการใช้พลังงานที่ไม่สมดุล เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโยโย่

เปลี่ยนตัวเองให้สุดด้วยโปรแกรมควบคุมน้ำหนักบอดี้คีย์บายนิวทริไลท์ ที่ช่วยออกแบบแผนการกินเข้าและเผาผลาญออกเฉพาะบุคคลบันทึกกิจกรรมและปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดน้ำหนักอย่างการนอนหลับด้วยอินบอดี้วอทช์ และบอดี้คีย์แอพพลิเคชั่น พร้อมด้วยผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารบอดี้คีย์ที่ทำให้การคุมแคลอรีและสัดส่วนสารอาหารทำได้ง่าย  พิสูจน์แล้วลดได้จริงไม่โยโย่ ดูเรื่องราวของผู้ใช้จริงได้ ที่นี่

shop now