ผักและผลไม้เป็นแหล่งที่ดีที่สุดสำหรับสารต้านอนุมูลอิสระ อาหารที่อุดมไปด้วยผักและผลไม้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด ผู้ที่บริโภคผักและผลไม้มากเป็นประจำจะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของคนที่บริโภคผักและผลไม้น้อย แต่ในมื้ออาหารของผู้คนในปัจจุบันมักขาดผักและผลไม้หรือมีไม่เพียงพอในระดับที่จะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย  สารสกัดเข้มข้นจากผักและผลไม้ชนิดต่างๆ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเติมเต็มไฟโตนิวเทรียนท์เพื่อดูแลสุขภาพด้านต่างๆ มากมาย

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยสถาบันสุขภาพนิวทริไลท์เกี่ยวกับไฟโตนิวเทรียนท์จากผักและผลไม้รวมเข้มข้นที่น่าสนใจ

1. ชาเขียวและสารอีจีซีจี (EGCG) ในชาเขียว ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด

  • การดื่มชาเขียวเพิ่มขึ้นช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้
  • ยับยั้งเซลล์มะเร็งปอดในระยะแรกของโรคมะเร็งปอด
  • หยุดยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งในช่องปาก
  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
  • จากการศึกษาทดลองในประเทศจีนพบว่า การบริโภคชาเขียวประมาณ 4-5 ถ้วยต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งสำไส้และมะเร็งตับ
  • สารอีจีซีจียังช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ รวมทั้งลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดจำพวกโคเลสเตอรอลและไตรกรีเซอไรด์

2. เควอซิทิน (Quercetin)

เป็นสารไฟโตนิวเทรียนท์ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ พบมากในหัวหอม หอมแดง และพืชตระกูลถั่วจากประเทศบราซิล เช่น ฟาวา ดังทา (Fava d’ anta) ให้ฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชันสูงที่สุด จึงช่วยป้องกันการอักเสบ ป้องกันแบคทีเรีย และไวรัส และช่วยป้องกันอาการแพ้ ประโยชน์ของเควอซิทิน ได้แก่

  • ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจ เนื่องจากเควอซิทินให้ฤทธิ์ในการป้องกันการแข็งตัวของเลือด ป้องกันการเกิดออกซิเดชันในหลอดเลือด และป้องกันหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตัน การรับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยเควอซิทินในปริมาณสูงจึงช่วยให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น เควอซิทินถือว่าเป็นไฟโตนิวเทรียนท์ที่ปกป้องหลอดเลือด (vasoprotective) และช่วยในการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ ช่วยให้ระบบการไหลเวียนและการทำงานหัวใจดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคลมชักในระยะแรกในผู้ป่วยสูงอายุได้
  • ยับยั้งและหยุดการขยายตัวของเซลล์เต้านมที่ผิดปกติ
  • ยับยั้งและลดการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกในลำไส้

3. กรดเอลลาจิก (Ellgic Acid)

ที่พบในสารสกัดจากทับทิม มีประโยชน์ดังนี้

  • ลดการทำลายดีเอ็นเอที่จะทำให้เกิดโรคเรื้อรัง ทำให้เกิดภาวะแก่ขึ้น (Ageing) และเป็นโรคมะเร็ง
  • ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์บางชนิดซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างดีเอ็นเอในเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะของมนุษย์ กรดเอลลาจิกในปริมาณที่มากขึ้นจะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในขอบเขตที่มากขึ้นได้
  • หยุดการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการแบ่งเซลล์ในเซลล์มะเร็งปากมดลูก และยังช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในตับ หลอดอาหาร และปอด

4. เฮสเพอริดิน (Hesperidin)

ที่พบในสารสกัดจากส้ม ช่วยเสริมสร้างสุขภาพดังนี้

  • ช่วยบำรุงหลอดเลือดดำให้แข็งแรง โดยเฉพาะเฮสเพอริดินที่รวมกับฟลาโวนอยด์จากผลไม้จำพวกส้ม เช่น ไดออสมิน (Diosmin) มีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของเส้นเลือดขอดและริดสีดวงทวาร
  • ช่วยสนับสนุนการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ
  • ยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น เยื่อบุผิวลิ้น เซลล์ลำไส้ใหญ่ เซลล์เนื้องอกเต้านม เป็นต้น
  • ลดระดับพลาสมาโคเลสเตอรอล
  • การดื่มน้ำส้มถึง 3 แก้วต่อวัน จะเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL) ได้ถึง 21% และลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์

5. สารลูทีน (Lutein)

ในสารสกัดจากดอกดาวเรือง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ พบได้ทั่วไปในผักใบเขียวและมีส่วนสำคัญในการบำรุงสายตา โมเลกุลของลูทีนพบในปริมาณสูงในจุดของดวงตา โดยเฉพาะพื้นที่ของเรตินาที่เกี่ยวกับการรับภาพ ระดับลูทีน 2.0 – 6.9 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดด่างในดวงตา ลดความเสี่ยงต่อการมองไม่ชัดในเวลากลางคืน

สารลูทีนจะช่วยสร้างสารต้านอนุมูลอิสระในการป้องกันเยื่อแก้วตา (retina)

  • ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม การได้รับลูทีนและซีซานทีน (zeaxanthin) ในอัตราสูงจะช่วยลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อมอย่างเฉียบพลันตามอายุได้
  • ผู้ที่ได้รับลูทีนในระดับสูงที่สุดจะเป็นต้อกระจกในอัตราที่ต่ำกว่าผู้ที่ไม่รับประทานลูทีนจากผักและผลไม้เลย

สารลูทีนอาจช่วยป้องกันมะเร็งปอด มะเร็งสำไส้ และมะเร็งเต้านม

  • การรับประทานสารลูทีนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
  • การรับประทานผักที่อุดมไปด้วยแคโรทีนอยด์ซึ่งประกอบด้วยลูทีนในปริมาณสูงจะช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านม สำหรับสตรีที่มีประวัติว่ามีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านม

6. ไลโคปีน (Lycopene)

ช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งหลายๆ ชนิด โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย

  • ผู้เข้ารับการทดสอบที่รับประทานมะเขือเทศในปริมาณสูงที่สุด 10 ครั้งต่อสัปดาห์ มีอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่รับประทานน้อยกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ การรับประทานมะเขือเทศในอัตราสูงจะช่วยลดอัตราการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากทุกประเภทได้ถึง  35% และลดความรุนแรงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 53%
  • สารสกัดจากมะเขือเทศที่ประกอบด้วยไลโคปีน 30 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยลดการเจริญเติบโตของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในคนไข้ภายหลังจากการรักษาโรคมาแล้ว 3 สัปดาห์
  • ไลโคปีนช่วยป้องกันโรคมะเร็งรังไข่ในสตรี (โดยเฉพาะในสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือน) ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยจะลดการเกิดเนื้องอกและยับยั้งการพัฒนาวงจรชีวิตของเซลล์ในช่วงต้นของการเกิดเซลล์มะเร็ง(ระยะ G1)
  • ไลโคปีนยังช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ การได้รับไลโคปีนในปริมาณที่สูงช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด และลดความรุนแรงของการเผาไหม้ของผิวหนังจากแสงอาทิตย์

ใครบ้างควรรับประทานสารสกัดผักและผลไม้รวมเข้มข้นเป็นประจำทุกวัน

  1. ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการได้รับอนุมูลอิสระเป็นประจำ เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่
  2. ผู้ที่อยู่ในสภาพมลภาวะเป็นพิษ
  3. ผู้ที่มีพฤติกรรมชอบรับประทานอาหารจำพวกบาร์บีคิว ปิ้ง ย่าง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย
ข้อมูลอ้างอิง
  1. Seddon J et al. Dietary carotenoids, vitamins A, C, and E, and advanced age-related macular degeneration.  JAMA 1994; 272: 1413-1420.
  2. Dorey K et al. Light-induced photreceptor apoptosis is correlated with dietary and retinal levels of 3R,#’R-zeaxanthin.  Investig Ophthamol Vis Sci (suppl) 38: S355 (Abstract).
  3. Colditz GA et al. Increased green and yellow vegetable intake and lowered cancer deaths in an elderly population.  Am J Clin Nutr 1985: 41: 32-36.
  4. Cramer DW et al. Carotenoids, antioxidants and ovarian cancer risk in pre- and postmenopausal women.  Int J Cancer 2001; 94: 128-134.
  5. Nahum A et al. Lycopene inhibition of cell cycle progression in breast and endometrial cancer cells is associated with reduction in cyclin D levels and retention of p27 (Kip1) in the cyclin E-cdk2 complexes.  Oncogene 2001; 20: 3428-3436.
  6. Hertog MGL et al. Dietary antioxidant flavonoids and risk of coronary heart disease.  The Zutphen Elderly Study.  Lancet 1993; 342: 1007-1011.
  7. Keli SO et al. Flavonoids, antioxidant vitamins and risk of stroke.  The Zutphen Study.  Arch Intern Med 1996; 154: 637-642.
shop now