ผิว ผม และเล็บ เป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเซลล์เนื้อเยื่อซึ่งมีการผลัดเปลี่ยนและเสื่อมสภาพอยู่ตลอดเวลา เราจึงมองเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายจากภายนอก ผู้คนจึงให้ความใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ แม้จะเป็นอวัยวะที่มองเห็นจากภายนอก แต่การดูแลจากภายในก็เป็นสิ่งสำคัญ ด้วยการกินสารอาหารที่ช่วยบำรุงและกระตุ้นเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ไม่ให้เสื่อมสภาพเร็วเกินไป เช่น สารไฮโดรไลซ์ คอลลาเจน สารสกัดจากเมล็ดองุ่น ไกลซีน แมกนีเซียม ไทรซิลิเคต แอล-ซิสทีน ไบโอติน วิตามินซี และอะเซโรลาเข้มข้น

ผิว (Skin)

เซลล์ผิวของคนเรามีการสร้าง ทำลาย และผลัดเซลล์มากถึงประมาณ 1 พันล้านเซลล์ทุกวัน เมื่ออายุมากขึ้นโครงสร้างและหน้าที่ต่างๆ ของผิวก็เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นการเสื่อมตามวัย ขณะเดียวกันจะมีของเสียตกค้าง โดยมีอยู่กลุ่มหนึ่งเรียกว่า อนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ ทำให้เซลล์เสื่อมเร็วและเร่งให้ทำลายตัวเองในที่สุด ปัจจัยที่ไปเสริมอนุมูลอิสระเหล่านี้ ได้แก่

  • การกินอาหารไม่ถูกส่วน เช่น กินอาหารจำพวกไขมันสัตว์มากเกินไป
  • ขาดสารอาหารต่างๆ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี ที่จะไปกำจัดอนุมูลอิสระ
  • ความเครียด
  • ผู้หญิงที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป จะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งนอกจากทำให้กระดูกเปราะแล้วยังมีผลทำให้ผิวหนังเสื่อมเร็วขึ้นด้วย โดยผิวหนังจะบาง แห้ง และขาดความยืดหยุ่น

ผม (Hair)

เส้นผมบนศีรษะมีจำนวนประมาณหนึ่งแสนเส้น ผมคนเราจะยาวออกเรื่อยๆ ประมาณวันละ 0.35 มิลลิเมตร หรือปีละ 12 - 15 เซนติเมตร แต่รากผมจะมีอายุประมาณ 2 - 5 ปี เมื่อรากแก่เต็มที่แล้วจะหยุดการเติบโต ทำให้เส้นผมหลุดร่วงออกไปแล้วมีหน่อรากใหม่ขึ้นมาแทนที่ ผมแต่ละเส้นมีวงจรไม่พร้อมกัน เราจึงไม่รู้สึกว่าผมบางลง ทั้งที่มีผมร่วงอยู่เรื่อยๆ เพราะมีเส้นใหม่ขึ้นมาแทนที่ตลอด สำหรับคนที่มีผมร่วงมากอาจเกิดจาก

  • ความเครียดและสุขภาพร่างกายทรุดโทรม เช่น เป็นโรคเรื้อรัง การอดอาหารเพื่อลดความอ้วน การผ่าตัด การคลอดบุตร
  • ภาวะเครียดทางอารมณ์ ความวิตกกังวล
  • โรคบางโรคทำให้ผมร่วงได้ เช่น โรคเอสแอลอี ซิฟีลิส โลหิตจาง โรคขาดสารอาหาร
  • การกินยาบางชนิด เช่น ยาโรคมะเร็ง หรือฮอร์โมนคุมกำเนิด

เล็บ (Nail)

เล็บเป็นสารเคอราติน (Keratin) เช่นเดียวกับเส้นผม เล็บที่มีสุขภาพดีควรมีสีขาวใสอมชมพู ผิวเรียบและเป็นเงา เมื่อร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วย เล็บจะหยุดการเจริญเติบโตทำให้เห็นเป็นร่องของเล็บ เป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งที่ตรวจพบได้ ใช้ตรวจหายาหรือสารพิษที่สะสมในร่างกายได้เนื่องจากยาหรือสารพิษจะมาสะสมที่เล็บ เช่น เล็บที่มีสีซีดและโค้งเป็นรูปช้อนพบในโรคโลหิตจาง เล็บเหลืองพบในคนสูบบุหรี่ เล็บเขียวพบในโรคหัวใจเนื่องจากมีออกซิเจนไม่เพียงพอในเม็ดเลือด เป็นต้น

สารอาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพผิว ผม เล็บ

  • ไฮโดรไลซ์ คอลลาเจน เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นโครงสร้างหลักของเนื้อเยื่อ ช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่น เพิ่มความชุ่มชื้น ช่วยให้ไม่เกิดริ้วรอยก่อนวัย และยังช่วยให้เล็บมีสุขภาพดี ไม่เปราะ หรือฉีกขาดง่าย
  • สารสกัดจากเมล็ดองุ่น เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้เส้นเลือดฝอยมีความยืดหยุ่นสามารถนำพาสารต่างๆ ในเลือดเพื่อหล่อเลี้ยงไปยังเซลล์ต่างๆ ได้ดีขึ้น ผิว ผม และเล็บจึงมีสุขภาพดีขึ้น เส้นผมแข็งแรง ลดการหลุดร่วง นอกจากนี้ยังช่วยให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรงขึ้นด้วย
  • ไกลซีน เป็นกรดอะมิโนชนิดซึ่งช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ไม่แห้ง ไม่เกิดริ้วรอยก่อนวัย และยืดหยุ่นดี ช่วยให้เล็บมีความยืดหยุ่น ไม่เปราะหักง่าย
  • แมกนีเซียม ไทรซิลิเคต ช่วยให้เล็บแข็งแรงขึ้น ผิวมีความยืดหยุ่น เส้นผมแข็งแรง เงางาม
  • แอล-ซิสทีน ช่วยเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างโปรตีนภายในร่างกาย เช่น ผิว ผม เล็บ
  • ไบโอติน เสริมกระบวนการสร้างเคอราติน ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในผิวหนัง ผม และเล็บ ช่วยให้เล็บแข็งแรง ไม่เปราะหักง่าย
  • วิตามินซี และอะเซโรลาเข้มข้น ช่วยสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนและอิลาสตินที่อยู่ในชั้นหนังแท้ ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย
ข้อมูลอ้างอิง
  1. Davidson, JM, et al. 1997. Ascorbate differentially regulated elastin and collagen biosynthesis in Vascular smooth muscle cells and skin fibroblasts by pretranslational mechanisms.  The Journal of Biological Chemistry.272:345-352.
  2. Fenske NA, Lober, CW. Structural and functional changes of normal aging skin. J Am acad dermatol 1986;15:571-585.
  3. Floersheim GL. Treatment of brittle fingernails with biotin. Z Hautkr 1989;64:41-48.
  4. Griffith HW. Complete guide to vitamins, minerals & supplements. Fisher Books, 1988.
  5. Giraud F, Mattei JF, Rolland M, Ghiglione C, Pommier de Sante P, Sudan N. Clouston’s ectodermal dysplasia. A case report with biochemical study of keratin.  Arch Fr Pediatr 1977;34:982-93. Abstract English only.  Article is in French. 
  6. Henig RM The collagen controversy. Mirabella 1991;3:132-134.
  7. Jonadet M, Meunier M, bastide J.  Anthocyanosides extracted from Vitis vinifera,  Vaccinium myrtillus and Pinus maritimus.   Elastase-inhibiting activities in vitro.  II. Comparative angioprotective activities in vivo.  Journal of Pharmacology (Belgium) 1983;38:41-46.
  8. Smit NP, Van der Meulin H, Koerten HK, Kolb RM, Mommaas AM, Lentjes EG, Pavel S. Melanogenesis in cultured melanocytes can be substantially influenced by L-tyrosine and L-cysteine. J Invest Dermatol 1997;109:796-800.
  9. Nutrilite Health Institute, U.S.A.
shop now