การป้องกันดีกว่าการแก้ปัญหาในภายหลังฉันใด การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงย่อมดีกว่าการตามมารักษาโรคในภายหลังฉันนั้น การเสริมสร้างสมรรถนะของร่างกายให้แข็งแรง ทรหดอดทน มีภูมิต้านทาน ก็เป็นการดูแลสุขภาพอย่างหนึ่งที่ทุกคนควรใส่ใจ สมุนไพรที่ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องการเสริมสร้างสมรรถนะของร่างกายที่ผู้คนชาติต่างๆ รู้จักและใช้กันมายาวนานนับร้อยปีก็คือ โสม โดยเฉพาะการนำโสมไซบีเรียมาผสมผสานกับกิงโก บิโลบา เพื่อให้ได้สารสกัดที่ทั้งช่วยเพิ่มสมรรถนะให้ร่างกาย เพิ่มภูมิต้านทาน และยังช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย

การผสมผสานสารสกัดมาตรฐานจากสมุนไพรโสมไซบีเรียและกิงโก บิโลบา อย่างลงตัว ให้คุณประโยชน์มากมายต่อร่างกายอย่างไร คำตอบอยู่ที่นี่…

โสมไซบีเรีย (Siberian Ginseng)

ถูกนำมาใช้เพื่อทดแทนโสมจีนหรือโสมเกาหลีซึ่งหายากและมีราคาแพงมากขึ้น โดยนำรากและลำต้นใต้ดินมาใช้ป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจหวัด และไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ยังช่วยเสริมพละกำลังสร้างความกระปรี้กระเปร่าคล้ายคลึงกับสรรพคุณที่พบในโสมเกาหลี

สรรพคุณของโสมไซบีเรียต่อร่างกาย

1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย

เสริมความแข็งแกร่ง ทนทาน เพิ่มความมีชีวิตชีวาแก่ร่างกาย การเสริมโสมไซบีเรีย ทำให้กล้ามเนื้อสามารถใช้ออกซิเจนได้มากขึ้น สามารถทำงานในเชิงแอโรบิกได้ยาวนานขึ้นและฟื้นตัวจากอาการล้าได้เร็วขึ้น ในวงการกีฬาของรัสเซียนิยมใช้โสมไซบีเรียในการเสริมสมรรถนะและความทรหดอดทนในหมู่นักกีฬาอีกด้วย ปัจจุบันรัฐบาลเยอรมันอนุญาตให้ใช้โสมไซบีเรียในการออกฤทธิ์เป็นยากระตุ้นความอยากอาหาร และใช้เป็นสารชดเชยภาวะเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อภายหลังการทำงานหนัก อีกทั้งยังช่วยเร่งการฟื้นฟูร่างกายหลังจากการเจ็บป่วยหรืออยู่ในขณะพักฟื้น

2. เพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย

สารสกัดจากรากโสมไซบีเรียสามารถช่วยเพิ่มภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดได้   และยังช่วยให้ร่างกายปรับตัวได้ดีขึ้นโดยการกระตุ้นการทำงานของต่อมอะดรีนัลเมื่อร่างกายเกิดภาวะเครียด

ข้อควรระวังก็คือ ผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูงที่ไม่มีการควบคุมควรงดเว้นการใช้โสมไซบีเรีย เนื่องจากอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีก รวมทั้งไม่แนะนำให้สตรีตั้งครรภ์และอยู่ในระยะให้นมบุตรรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

กิงโก บิโลบา (Ginkgo Biloba)

สรรพคุณหลักของพืชสมุนไพรกิงโก บิโลบา หรือแป๊ะก๊วย มีผลโดยตรงต่อสมองคือ

  • ช่วยเสริมการทำงานของสมอง โดยลดความข้นหนืดและป้องกันการแข็งตัวของเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น ทำให้สมองทำงานได้ดี
  • เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันมิให้เซลล์ต่างๆในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์สมอง ถูกทำลายจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ความเครียด การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น
  • ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกของการเกิดโรค โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคความเสื่อมชนิดหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงเซลล์สมองได้ไม่เพียงพอจากอายุที่มากขึ้นหรือพฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำวัน จึงทำให้เซลล์ประสาทถูกทำลาย ปริมาณเสริมที่แนะนำต่อวัน คือ  60 – 120  มิลลิกรัม/วัน

ผู้ที่ควรรับประทานสารสกัดมาตรฐานจากโสมไซบีเรียและกิงโก บิโลบา

  1. นักเรียนหรือนักศึกษาที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ที่อยู่ในวัยทำงาน ที่ต้องเผชิญกับสภาวะความเครียดจากการเรียนหรือการทำงานอย่างหนัก การใช้สมองและความคิดอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เช่น นักธุรกิจ แพทย์ นักบัญชี ทนายความ เป็นต้น
  2. ผู้ที่มีอาชีพที่จำเป็นต้องเพิ่มความฟิตของร่างกายอยู่เสมอ เช่น นักกีฬาที่ต้องฟิตซ้อมร่างกายอยู่เป็นประจำ ได้แก่ นักฟุตบอล นักวิ่งมาราธอน เป็นต้น
  3. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบความจำ หรือเป็นโรคอัลไซเมอร์
ข้อมูลอ้างอิง
  1. Science Review Tropical Fruit Concentrate, Nutrilite Health Institute, Nuttition Science & Service.
  2. Vitamin & Mineral Handbook Amanda Ursell Bsc Nutrition, Dip. Dietetics.
  3. Diet and Health Implications for Reducing Chronic Disease Risk. National Research Council
  4. Secrets of Ginkgo. St. Martin’s Paperbacks Eedition / May 1999, Copyright by Cader Company, Inc. Printed by St. Martin’s Press, 175 Fifth avenue, New York, N.Y.
  5. Collisson FJ. 1991. Siberian Ginseng (Eleutherococcus senticosus). Brit J Phytother; 2:61-71 [review]
  6. The Dose-dependent Cognitive Effects of Acute Aministration of Ginkgo Biloba to Healthy Young Volunteers. Psychophamacology (berl) 2000 Sep;151(4):416-23 Kenedy DO; Scholey AB. Wesnes KA. Division of Psychology, University of Northumbria, Newcastle upon Tyne, UK.
  7. ก้าวไกลกับสมุนไพร ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรมป่าไม้ โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง
  8. สมุนไพรน่ารู้ วันดี กฤษณพันธ์ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  9. อาหาร โภชนาการ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน และคณะ
shop now