หากคุณเคยคิดว่า...พยายามลดน้ำหนักแบบคนอื่นแล้วยังไงก็ไม่สำเร็จ...ร่างกายเราคงไม่เหมือนคนอื่น ลดแบบปกติไม่ได้ คงต้องพึ่งยาชุดลดความอ้วน แบบนี้ไม่เพียงแต่เสี่ยงกับ ”โยโย่ เอฟเฟกต์” แต่อาจหมายถึงความเสี่ยงต่อชีวิต

ยาชุดลดความอ้วน คือหนึ่งในวิธีลัดที่หลายคนหันหน้าเข้าหาเพื่อให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ถ้ารู้ว่ายาชุดลดความอ้วนส่งผลต่อระบบสมองและร่างกาย และผลลัพธ์ที่น้ำหนักจะเหวี่ยงกลับมาอย่างรวดเร็ว ซ้ำร้ายอาจจะต้องแลกกับชีวิต...หลายคนคงอยากวางมันให้ห่างจากตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

stop-diet-pill-1.jpg

ในยาลดความอ้วนหนึ่งเม็ด ผู้ผลิตผสมตัวยาช่วยลดความอ้วนอื่นๆ อีกเพียบ!

จากการสำรวจของกองควบคุมวัตถุเสพติด* พบว่า ยาชุดลดความอ้วนมักจะประกอบไปด้วยยาหลายชนิดเพื่อช่วยเสริมผลในการลดน้ำหนัก ไม่ว่าจะเป็น...

  • ยาลดความอยากอาหารซึ่งจะออกฤทธิ์ต่อศูนย์ควบคุมความอิ่มในสมอง ทำให้ไม่รู้สึกหิว ซึ่งผลข้างเคียงจะทำให้นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ การใช้ยานานๆ จะเกิดการติดยา และหากหยุดยาในทันทีจะทำให้เกิดอาการประสาทหลอนได้ เพราะยากลุ่มนี้จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 
  • ไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ ซึ่งยาชนิดนี้มีผลเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ทำให้น้ำหนักลดลงเร็ว โดยส่วนที่ลดกลับเป็นโปรตีนในกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดอาการใจสั่น  
  • ยาขับปัสสาวะที่ทำให้เรารู้สึกน้ำหนักลงเร็วเพราะปริมาณน้ำในร่างกายที่ลดลง แต่ขณะเดียวกันร่างกายก็เสียสมดุลของเกลือแร่ ทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีผลต่อหัวใจและสมองในที่สุด 
  • ยาระบายเพื่อกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ให้มีการขับถ่ายไล่อาหารออกจากทางเดิน เช่นเดียวกับยาขับปัสสาวะที่ทำให้เรารู้สึกน้ำหนักลดลงเร็ว แต่ก็ทำให้เสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายด้วย

นอกจากนี้ยังมียาอื่นๆ ที่เพิ่มเข้าไปเพื่อลดผลข้างเคียงจากตัวยาในชุด เช่น ยาลดการเต้นของหัวใจ ซึ่งปกติจะใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่การนำมาผสมในชุดยาลดความอ้วนก็เพื่อช่วยลดผลข้างเคียงจากยาลดความอยากของอาหาร และไทรอยด์ฮอร์โมนที่ทำให้ใจสั่น ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะทำให้ความดันต่ำ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นอกจากนี้ยังมียานอนหลับ หรือยาที่มีฤทธิ์ให้ง่วงนอน เพื่อใช้ลดผลข้างเคียงจากยาลดความอยากอาหารที่ไปกระตุ้นประสาททำให้นอนไม่หลับ และยาลดการหลั่งของกรดในกระเพาะ เพื่อลดผลข้างเคียงจากยาลดความอยากอาหารซึ่งทำให้ร่างกายรับอาหารได้น้อยลง แต่กรดในกระเพาะยังมีการหลั่งอยู่ จึงให้ไว้เพื่อป้องกันการเกิดโรคกระเพาะ

stop-diet-pill-2.jpg

ยาครอบจักรวาล ลดน้ำหนักสุดโต่งก็เด้งกลับสุดแรง

จะเห็นว่ายาลดความอ้วนเป็นการนำยาที่ใช้ในการรักษาโรคมาใช้ โดยหวังผลจากการออกฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาท เพิ่มการใช้พลังงานของร่างกาย เร่งการกำจัดของเหลวออกจากร่างกาย เพื่อให้ผลข้างเคียงของยานั้นทำให้น้ำหนักลด สุดท้ายเมื่อหยุดยา ร่างกายที่เคยถูกยาทำให้เสียสมดุลพลังงานที่กินเข้าและใช้ไป เมื่อกลับมากินอาหารเช่นเดิม อาจมีความต้องการกินอาหารมากขึ้น เกิดการสะสมพลังงานในรูปของไขมันมากขึ้นกว่าเดิม กลายเป็นภาวะโยโย่ เอฟเฟกต์ (Yoyo Effect) เท่านั้นยังไม่พอ ยังเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงของยา ไม่ว่าจะเป็นภาวะหงุดหงิดง่าย ประสาทหลอน และอาจจะร้ายแรงไปจนทำให้หัวใจล้มเหลวได้

ถึงเวลาเปลี่ยนตัวเองให้สุด แล้วหยุดใช้ยาลดความอ้วน โดยเริ่มจากการเข้าใจสมดุลร่างกายทั้งเรื่องกินเข้าและเผาผลาญออก หรือจะใช้ตัวช่วยอย่างบอดี้คีย์บายนิวทริไลท์ โปรแกรมการควบคุมน้ำหนักที่จะออกแบบการกินเข้าและเอาออกเพื่อคุณโดยเฉพาะจากการใช้ อินบอดี้วอทช์ และแอพพลิเคชั่นบอดี้คีย์ โปรแกรมยังมาพร้อมผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารที่ควบคุมแคลอรีได้ง่าย และให้สารอาหารครบถ้วน สนุกกับการแข่งขันลดน้ำหนักกับคนไทยและต่างประเทศ...พิสูจน์แล้วจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์จริง น้ำหนักลดลงอย่างยั่งยืน และไม่โยโย่ คลิก

*อ้างอิงข้อมูล : บทความ”อันตรายจากยาชุดลดความอ้วน” นศภ. ศิรดา เด่นชูวงศ์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

shop now